ขนาดของกระดาษ
 
ฝากกด Like เพจเพื่อเป็นกำลังใจให้กับทางทีมงานด้วยนะครับ
ขนาดของกระดาษ
ก่อนที่จะเลือกโรงพิมพ์ ท่านต้องดูก่อนว่างานพิมพ์ของท่านเหมาะสมกับระบบการพิมพ์อะไร ซึ่งประเภทของการพิมพ์ที่แบ่งตามลักษณะของการพิมพ์สามารถจัดได้เป็นดังนี้

 
เนื่องจากมีการใช้กระดาษกันอย่างกว้างขวาง จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของขนาดกระดาษขึ้นนอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐานด้านอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและการสื่อสารกัน ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน
 
มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216
 
มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ และหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้ จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับ สแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ
 





มาตรฐานรหัสชุด A

มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณจะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 .... มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4 ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น
 
 
2A 1189  x 1682 mm. 46.81  x  66.22 in.
A0  841  x 1189 mm. 33.11  x  46.81 in.
A1  594  x   841 mm. 23.39  x  33.11 in.
A2  420  x   594 mm. 16.54  x  23.39 in.
A3  297  x   420 mm.  11.69  x  16.54 in.
A4  210  x   297 mm.    8.27  x  11.69 in.
A5  148  x   210 mm.   5.83  x   8.27 in.
A6  105  x   148 mm.   4.13  x   5.83 in.
A7    74  x   105 mm.   2.91  x   4.13 in.
A8    52  x    74 mm.   2.05  x   2.91 in.
A9    37  x    52 mm.   1.46  x   2.05 in.
A10    26  x    37 mm.   1.02  x   1.46 in.
   
 

มาตรฐานรหัสชุด B

มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง) ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร
B0  1000  x 1414 mm. 39.37  x  55.67 in.
B1  707  x 1000 mm. 27.83  x  39.37 in.
B2  500  x   707 mm. 19.68  x  27.83 in.
B3  353  x   500 mm.  13.90  x  19.68 in.
B4  250  x   353 mm.    9.84  x  13.90 in.
B5  176  x   250 mm.   6.93  x    9.84 in.
B6  125  x   176 mm.   4.92  x    6.93 in.
B7    88  x   125 mm.   3.46  x    4.92 in.
B8    62  x     88 mm.   2.44  x    3.46 in.
B9    44  x     62 mm.   1.73  x    2.44 in.
B10    31  x     44 mm.   1.22  x    1.73 in.


มาตรฐานรหัสชุด C

รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ
C0  917  x 1297 mm. 36.10  x  51.06 in.
C1  648  x   917 mm. 25.51  x  36.10 in.
C2  458  x   648 mm. 18.03  x  25.51 in.
C3  324  x   458 mm.  12.76  x  18.03 in.
C4  229  x   324 mm.    9.02  x  12.76 in.
C5  162  x   229 mm.   6.38  x    9.02 in.
C6  114  x   162 mm.   4.49  x    6.38 in.
C7    81  x   114 mm.   3.19  x    4.49 in.
C8    57  x     81 mm.   2.24  x    3.19 in.
C9    40  x     57 mm.   1.57  x    2.24 in.
C10    28  x     40 mm.   1.10  x    1.57 in.
 

มาตรฐานอเมริกาเหนือ

มาตรฐานที่กล่าวข้างต้นเป็นมาตรฐานในระบบ ISO สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือ ยังมีการใช้กระดาษที่มีขนาดมาตรฐานต่างออกไป ซึ่งสามารถดูได้จากตารางข้างล่างนี้   
   
Letter  216  x  279 mm.  8.50  x  11.00 in.
Legal  216  x  356 mm.  8.50  x  14.00 in.
Ledger  432  x  279 mm. 17.00  x  11.00 in.
Tabloid  279  x  432 mm.  11.00  x  17.00 in.


นอกจากมาตรฐานขนาดของกระดาษที่กล่าวมาแล้ว ยังมีมาตรฐานที่จัดทำขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น มาตรฐาน JIS ของประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน SIS ของประเทศสวีเดน อีกทั้งยังมีชื่อเรียกขนาดมาตรฐานตามการใช้งานต่าง ๆ เช่น ขนาด F4 (Foolscap) ซึ่งมีความกว้างเท่ากับ A4 แต่มีความสูงมากกว่า (210 x 330 mm.) ขนาดนามบัตร ขนาดโปสการ์ด เป็นต้น
 

ขนาดมาตรฐานของกระดาษแบบแผ่น
 
ผู้ผลิตและจำหน่ายกระดาษขนาดใหญ่สำหรับใช้ในโรงพิมพ์จะมีการบรรจุกระดาษเป็นห่อ ๆ ละ 500 แผ่นซึ่งเรียกว่า 1 รีม และมีการจัดขนาดของกระดาษเป็นมาตรฐานดังนี้
 
                   ขนาด         31 x 43    นิ้ว
                   ขนาด         35 x 43    นิ้ว
                   ขนาด         28 x 40    นิ้ว
                   ขนาด         25 x 36    นิ้ว
                   ขนาด         24 x 35    นิ้ว
 
    (นอกจากนี้ยังมีกระดาษบางประเภทซึ่งมีขนาดบรรจุสำหรับจำหน่ายต่างไปจากที่กล่าวมาแล้วนี้)
 
ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 35 x 43 นิ้วและ 28 x 40 นิ้ว ส่วนการพิมพ์สิ่งพิมพ์ทั่วไปรวมถึงหนังสือต่างๆ มักใช้ขนาด 31 x 43 นิ้ว, 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว (ขนาด 31 x 43 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด B ซึ่งใหญ่กว่าขนาด B1เล็กน้อยเพื่อเผื่อไว้สำหรับขบวนการพิมพ์ ส่วนขนาด 25 x 36 นิ้ว และ 24 x 35 นิ้ว เป็นขนาดที่จัดสำหรับมาตรฐานรหัสชุด A ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า A1 เล็กน้อย) อนึ่งกระดาษแต่ละชนิดแต่ละน้ำหนักอาจไม่มีขนาดจำหน่ายครบตามขนาดมาตรฐานที่ระบุไว้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายแต่ละราย
 

ขนาดพิมพ์
 
เครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนแผ่นมีขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งยังผลให้ต้องตัดเจียนกระดาษที่สั่งซื้อมาให้เหมาะเครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องก่อนที่จะนำมาพิมพ์งาน ขนาดของเครื่องพิมพ์จะเรียกตามขนาดกระดาษที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถเข้าเครื่องได้ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
 
               ขนาดตัดหนึ่ง            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  35 x 49 นิ้ว
               ขนาดตัดสอง            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  25 x 36 นิ้ว
               ขนาดตัดสองพิเศษ    พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  28 x 41 นิ้ว
               ขนาดตัดสาม            พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  21 x 31 นิ้ว
               ขนาดตัดสี่                พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  18 x 25.5 นิ้ว
               ขนาดตัดสี่พิเศษ        พิมพ์กระดาษได้ใหญ่สุด  21 x 28 นิ้ว
 
นอกจากนี้ยังมีเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก คือ ขนาดตัดห้า ขนาดตัดแปด ขนาดตัดสิบเอ็ด หรือเล็กกว่านั้น
 
เครื่องพิมพ์ในระบบออฟเซ็ทแบบป้อนม้วนจะวัดขนาดด้วยข้อจำกัดของเส้นรอบวงของโมลพิมพ์ โดยมีขนาดด้านเข้าเครื่องตายตัว ส่วนด้านขวางเครื่องสามารถปรับความกว้างได้ ส่วนใหญ่เครื่องพิมพ์ที่มีอยู่จะมีขนาดด้านเข้าเครื่องจะมี 21 นิ้ว กับ 24 นิ้ว
 
ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ ให้คำนึงถึงชิ้นงานเทียบกับแผ่นพิมพ์เพื่อเป็นการประหยัดและไม่ให้เกิดการเสียเศษกระดาษ สำหรับการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์แบบป้อนแผ่น ให้นำชิ้นงานมาวางลงในกระดาษขนาดพิมพ์ซึ่งถูกตัดแบ่งมาจากขนาดมาตรฐานต่าง ๆ (เช่น กระดาษขนาด 31 x 43 นิ้ว เข้าเครื่องตัดสี่ ต้องแบ่งสี่ส่วนได้แผ่นพิมพ์ขนาด 15.5 x 21.5 นิ้ว) ว่ามีการเสียเศษมากน้อยเพียงใด แต่ทั้งนี้ต้องไม่วางชิดจนเกินไป ให้มีการเว้นช่องว่างระหว่างชิ้นงานไม่ต่ำกว่า 5

 
โรงพิมพ์ บีพีเค พริ้นติ้ง มุ่งมั่นพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางด้านงานพิมพ์อย่างครบวงจร

 @bpkprinting

ขนาดกระดาษที่นิยมใช้เฉพาะในสหรัฐ
Legal size เป็นขนาดของกระดาษพิมพ์ขนาดหนึ่ง กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 14 นิ้ว
Letter size เป็นขนาดของกระดาษพิมพ์ขนาดหนึ่ง กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว