การคิดราคางานพิมพ์
วิธีการคำนวณต้นทุนสิ่งพิมพ์
การประเมินราคาสิ่งพิมพ์นับเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจทางการพิมพ์เนื่องจากเป็นตัวกำหนดถึงผลประกอบการว่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งจัดเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องอาศัยทั้งความรู้ความเข้าใจในการคำนวณ และใช้ความรอบคอบอย่างมากในการประเมินราคาสิ่งพิมพ์อีกด้วย จึงจัดได้ว่าการประเมินราคาสิ่งพิมพ์เป็นขั้นแรกที่ผู้ประกอบการพิมพ์ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการประเมินต้นทุนสิ่งพิมพ์มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของโรงพิมพ์ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการทราบราคาสิ่งพิมพ์ก่อนที่จะจัดจ้างพิมพ์งาน การประเมินต้นทุนสิ่งพิมพ์อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้โรงพิมพ์ได้งานจากลูกค้า ทำให้เกิดรายได้และผลกำไรแก่โรงพิมพ์ในที่สุด ทั้งนี้จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการประเมินต้นทุนสิ่งพิมพ์ทั้งภายในและภายนอกโรงพิมพ์อีกด้วย การประเมินราคาสิ่งพิมพ์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบรายละเอียดของงานพิมพ์ที่ลูกค้าต้องการก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อที่จะใช้ในการวิเคราะห์ว่างานดังกล่าวมีรายละเอียดและการดำเนินงานการผลิตกี่ขั้นตอนและมีความยากง่ายในการผลิตอย่างไร แล้วจึงดำเนินการในขั้นตอนการประเมินต้นทุนสิ่งพิมพ์ดังกล่าวเพื่อให้ได้ราคาที่มีความถูกต้อง และสอดคล้องกับนโยบายของโรงพิมพ์ที่มีตั้งเกณฑ์เอาไว้แล้วจึงนำเสนอลูกค้าด้วยใบเสนอราคาต่อไป
ติดต่อเรา
Email : print@bpkprinting.com
Phone : 02-049-3699
Line : @bpkprinting
ต้นทุนในการพิมพ์ระบบออฟเซต
ในการประเมินต้นทุนในการพิมพ์ระบบออฟเซตสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
น้ำหนักกระดาษที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่
กระดาษปอนด์ 60 70 80 100 120 แกรม
กระดาษอาร์ตมันและด้าน 85 90 100 105 120 130 140 160 แกรม
กระดาษอาร์ตการ์ด 190 210 230 260 300 310 360 แกรม (กระดาษอาร์ตการ์ดจะมีขนาด 25*36 และ 31*43 นิ้ว)
การพิมพ์แบบกลับนอก ก็คือการพิมพ์ลงบนกระดาษทั้งสองด้านโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีภาพหรือตัวหนังสือไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องใช้แม่พิมพ์คนละแผ่น
การพิมพ์แบบกลับในตัว คือการพิมพ์กระดาษทั้งสองด้านด้วยแม่พิมพ์เดียวกันเพียงแค่กลับหน้ากระดาษและพิมพ์ต่อด้วยแม่พิมพ์แผ่นเดิม โดยไม่ต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์จะได้ภาพหรือตัวหนังสือเหมือนกันทั้งสองด้านของกระดาษ
ความยากง่ายของการพิมพ์รวมถึงเวลาที่ใช้ในการพิมพ์งาน
ความเร็วของเครื่องพิมพ์โดยเฉลี่ยประมาณ 5,000 แผ่นต่อชั่วโมง บางเครื่องอาจเร็วหรือช้ากว่านี้แต่ปัจจัยหลักมักจะอยู่ที่คุณภาพของกระดาษที่ใช้ว่าบางหรือหนา บางเกินไป หรือหนาเกินไปก็พิมพ์ที่ความเร็วสูงไม่ได้พิมพ์พื้นสีมาก แห้งช้าก็พิมพ์เร็วไม่ได้ เวลาที่ใช้มีผลต่อการตีราคางานเป็นอย่างยิ่งบางงานพิมพ์จำนวนน้อยแต่ต้องใช้เวลารอ ในการพิมพ์แต่ละสีนาน ราคาอาจเท่ากับงานที่พิมพ์จำนวนมากบางงานได้
ในการประเมินต้นทุนในการพิมพ์ระบบออฟเซตสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
- เครื่องพิมพ์
- แม่พิมพ์หรือเพลท
- กระดาษ
น้ำหนักกระดาษที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่
กระดาษปอนด์ 60 70 80 100 120 แกรม
กระดาษอาร์ตมันและด้าน 85 90 100 105 120 130 140 160 แกรม
กระดาษอาร์ตการ์ด 190 210 230 260 300 310 360 แกรม (กระดาษอาร์ตการ์ดจะมีขนาด 25*36 และ 31*43 นิ้ว)
- หมึกพิมพ์
- วิธีการพิมพ์และการพับดัมมี่
การพิมพ์แบบกลับนอก ก็คือการพิมพ์ลงบนกระดาษทั้งสองด้านโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีภาพหรือตัวหนังสือไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องใช้แม่พิมพ์คนละแผ่น
การพิมพ์แบบกลับในตัว คือการพิมพ์กระดาษทั้งสองด้านด้วยแม่พิมพ์เดียวกันเพียงแค่กลับหน้ากระดาษและพิมพ์ต่อด้วยแม่พิมพ์แผ่นเดิม โดยไม่ต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์จะได้ภาพหรือตัวหนังสือเหมือนกันทั้งสองด้านของกระดาษ
ความยากง่ายของการพิมพ์รวมถึงเวลาที่ใช้ในการพิมพ์งาน
ความเร็วของเครื่องพิมพ์โดยเฉลี่ยประมาณ 5,000 แผ่นต่อชั่วโมง บางเครื่องอาจเร็วหรือช้ากว่านี้แต่ปัจจัยหลักมักจะอยู่ที่คุณภาพของกระดาษที่ใช้ว่าบางหรือหนา บางเกินไป หรือหนาเกินไปก็พิมพ์ที่ความเร็วสูงไม่ได้พิมพ์พื้นสีมาก แห้งช้าก็พิมพ์เร็วไม่ได้ เวลาที่ใช้มีผลต่อการตีราคางานเป็นอย่างยิ่งบางงานพิมพ์จำนวนน้อยแต่ต้องใช้เวลารอ ในการพิมพ์แต่ละสีนาน ราคาอาจเท่ากับงานที่พิมพ์จำนวนมากบางงานได้
ต้นทุนในการพิมพ์ระบบดิจิตอล
ต้นทุนการพิมพ์ในระบบ ดิจิตอลนั้นเป็นจะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่เป็น ต้นทุนแปรผัน สูงกว่าต้นทุนแบบ คงที่ โดยค่าใช้จ่ายหลักในการผลิต งานพิมพ์ แบบ ดิจิตอลนั้น จะต้นทุนแปรผัน (Variable Cost) ที่เรียกว่า Click Charge ในอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูง โดย ต้นทุน Click Charge นั้น จะเป็นต้นทุนที่ประกอบไปด้วย ค่าหมึก, ค่าวัสดุสิ้นเปลือง และค่าบำรุงรักษาเครื่อง ดังนั้น การพิมพ์ดิจิตอลจึงเหมาะสม กับการพิมพ์ที่มียอดพิมพ์ค่อนข้างสั้น หรือการพิมพ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงต้นฉบับบ่อย และไม่ต้องการคุณภาพงานพิมพ์ที่สูงนักโดยต้นทุนหลักที่เกิดขึ้น จากกระบวนการนี้จะเป็นค่ากระดาษ ,ค่าแรงของช่างพิมพ์, Click Charge, ค่าเสื่อมเครื่องพิมพ์ดิจิตอล และค่าเช่าพื้นที่ โดยเครื่องพิมพ์ ดิจิตอลไม่ต้องการเวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องพิมพ์ ดังนั้น เวลาและจำนวนแผ่นพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์จะเป็นแผ่นพิมพ์ที่สามารถขายได้อยู่แล้ว
ที่มางานวิทยานิพนธ์ของ : ดร.ชิณญ์ ทรงอมรสิริ . (2559). การหาจุดเปลี่ยนการผลิตในการผลิตสิ่งพิมพ์ระบบออฟเซตและดิจิตอล กรณีศึกษา บริษัท บีพีเค พริ้นติ้ง จำกัด (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
โรงพิมพ์ครบวงจรอันดับหนึ่ง
เราเป็นโรงงานผู้ผลิตโดยตรงทั้ง
ออฟเซ็ท ดิจิตอล อิงค์เจ็ท สติ๊กเกอร์ม้วน
ติดต่อโรงพิมพ์
- โทร: 02-049-3699 , 02-124-5037
- Line: @bpkprinting
- E-mail: print@bpkprinting.com
- รวมสื่อออนไลน์ของโรงพิมพ์
ข้อมูลโรงพิมพ์
บริษัท บีพีเค พริ้นติ้ง จำกัด
เลขที่ 951 โครงการกรีนเวอร์ค ซอยสุขสวัสดิ์ 78
ถนน ประชาอุทิศ-วัดคู่สร้าง ทุ่งครุ
วันทำการ จันทร์ - เสาร์ เวลา 09.00 - 17.00 น.