การคิดราคางานพิมพ์
 


วิธีการคำนวณต้นทุนสิ่งพิมพ์

การประเมินราคาสิ่งพิมพ์นับเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจทางการพิมพ์เนื่องจากเป็นตัวกำหนดถึงผลประกอบการว่าจะดำเนินธุรกิจต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งจัดเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องอาศัยทั้งความรู้ความเข้าใจในการคำนวณ และใช้ความรอบคอบอย่างมากในการประเมินราคาสิ่งพิมพ์อีกด้วย จึงจัดได้ว่าการประเมินราคาสิ่งพิมพ์เป็นขั้นแรกที่ผู้ประกอบการพิมพ์ต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ
 
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าการประเมินต้นทุนสิ่งพิมพ์มีความสำคัญต่อการอยู่รอดของโรงพิมพ์ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการทราบราคาสิ่งพิมพ์ก่อนที่จะจัดจ้างพิมพ์งาน การประเมินต้นทุนสิ่งพิมพ์อย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นสิ่งที่สำคัญทำให้โรงพิมพ์ได้งานจากลูกค้า ทำให้เกิดรายได้และผลกำไรแก่โรงพิมพ์ในที่สุด ทั้งนี้จึงต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการประเมินต้นทุนสิ่งพิมพ์ทั้งภายในและภายนอกโรงพิมพ์อีกด้วย การประเมินราคาสิ่งพิมพ์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทราบรายละเอียดของงานพิมพ์ที่ลูกค้าต้องการก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อที่จะใช้ในการวิเคราะห์ว่างานดังกล่าวมีรายละเอียดและการดำเนินงานการผลิตกี่ขั้นตอนและมีความยากง่ายในการผลิตอย่างไร แล้วจึงดำเนินการในขั้นตอนการประเมินต้นทุนสิ่งพิมพ์ดังกล่าวเพื่อให้ได้ราคาที่มีความถูกต้อง และสอดคล้องกับนโยบายของโรงพิมพ์ที่มีตั้งเกณฑ์เอาไว้แล้วจึงนำเสนอลูกค้าด้วยใบเสนอราคาต่อไป
ต้นทุนในการพิมพ์ระบบออฟเซต

ในการประเมินต้นทุนในการพิมพ์ระบบออฟเซตสิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ
  1. เครื่องพิมพ์
เครื่องพิมพ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน มักจะใช้พิมพ์งาน ที่ค่อนข้างมีปริมาณมากได้และจัดใช้ในการพิมพปกหนังสือ ปริมาณอย่างมากไม่เกิน 10,000 ปก
  1. แม่พิมพ์หรือเพลท
แม่พิมพ์หรือเพลท ซึ่งใช้พิมพ์ระบบออฟเซตจะมีลักษณะเป็นแผ่นเรียบ ทำด้วยอะลูมิเนียมมีความหนาประมาณ0.15-30 มม. อาจบางหรือหนากว่านี้แล้วแต่ยี่ห้อ ถ้าหนามากเกินไปจะไม่สามารถนำไปใส่บนกระบอกที่ยึดติดแม่พิมพ์ เพื่อป้อนเครื่องพิมพ์ในขนาดต่างๆกันแล้วแต่ว่าจะพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดใด
  1. กระดาษ
กระดาษขนาดมาตรฐานที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีอยู่ขนาดได้แก่ 24*35นิ้ว 25*36นิ้ว และ31*43นิ้ว การเลือกกระดาษในการพิมพ์งานมักจะคำนวณการใช้กระดาษโดยเสียเศษกระดาษน้อยที่สุดขนาดงานพิมพ์ที่เห็นอยู่ทั่วไปจึงมีขนาดที่ใกล้เคียงมาก การทำงานพิมพ์ ที่มีขนาดเป็นมาตรฐานและที่นิยมกันทั่วไปมีผลต่อราคา เพราะจะหาวัสดุ คือกระดาษได้ง่ายถ้าเป็นขนาดงานที่พิสดาร จะหากระดาษได้ยากราคาจะแพงโดยไม่จำเป็น
น้ำหนักกระดาษที่ใช้กันโดยทั่วไป ได้แก่
กระดาษปอนด์ 60 70 80 100 120 แกรม
กระดาษอาร์ตมันและด้าน 85 90 100 105 120 130 140 160 แกรม
กระดาษอาร์ตการ์ด 190 210 230 260 300 310 360 แกรม (กระดาษอาร์ตการ์ดจะมีขนาด 25*36 และ 31*43 นิ้ว)
  1. หมึกพิมพ์
หมึกพิมพ์มีมากมายหลายยี่ห้อคุณภาพไม่เหมือนกัน ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกระดาษและคุณภาพของงานพิมพ์ โดยทั่วไปก็จะใช้หมึกพิมพ์ที่มีคุณภาพสูงกันอยู่แล้ว ถ้าใช้หมึกคุณภาพต่ำก็จะมีปัญหาในการพิมพ์ ยกเว้นถ้ากระดาษคุณภาพต่ำและงานที่เป็นตัวหนังสือล้วนไม่มีสกรีนที่ละเอียดก็จะใช้หมึกราคาถูก เช่น หมึกที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือพิมพ์กระดาษปรู๊ฟเป็นหมึกที่แห้งตัวด้วยวิธีอ๊อกซิเดชั่น คือแห้งตัวด้วยออกซิเจนเมื่อแห้งแล้วลูบจะไม่ติดมือ เป็นหมึกที่นิยมใช้อยู่ในการพิมพ์หนังสือโดยทั่วไป การคิดราคาพิมพ์ก็จะเป็นหมึกประเภทนี้แต่ถ้าเน้นว่าต้องพิมพ์ให้ทนแสงแดดหรือหมึกประเภทสะท้อนแสง หมึกสีทอง สีบรอน ราคาหมึกก็จะแพงขึ้นค่าพิมพ์ก็จะแพงขึ้นซึ่งต้องระบุให้ชัด ส่วนการพิมพ์งานภาพ4 สีเราจะใช้หมึกชุด หรือหมึกโปรเซส เป็นที่รู้กันคือ หมึกสีดำ สีฟ้า หรือน้ำเงินเขียว สีแดงหรือม่วงแดง และสีเหลือง ราคาหมึกชุดของแต่ละยี่ห้อราคาอาจไม่เท่ากัน อาจจะขึ้นอยู่กับคุณาภาพหมึก แต่โดยทั่วไปก็ใช้ได้ เวลาพิมพ์งาน 4 สีควรใช้หมึกชุดยี่ห้อเดียวกัน ในการพิมพ์จะๆได้สีที่ใกล้เคียงมากกว่าใช้หมึกคนละยี่ห้อ
  1. วิธีการพิมพ์และการพับดัมมี่
การพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์ถ้าพิมพ์ด้านเดียวของกระดาษ ก็ไม่ค่อยยุ่งยาก เช่น งานโปสเตอร์ แต่ถ้ามีการพิมพ์2ด้านของกระดาษ ก็ต้องดูว่าเป็นการพิมพ์เพื่อเอาไปทำอะไร เช่น ใบปลิวหรืองานหนังสือ มีศัพท์ที่นิยมพูดกันเกี่ยวกับการพิมพ์บนกระดาษ2 คำ 1. การพิมพ์แบบกลับนอก 2. กลับการพิมพ์แบบกลับในตัว ซึ่งก็คือการพิมพ์ลงบนกระดาษทั้งสองด้านเหมือนกันแต่วิธีในการพิมพ์จะต่างกัน
การพิมพ์แบบกลับนอก ก็คือการพิมพ์ลงบนกระดาษทั้งสองด้านโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีภาพหรือตัวหนังสือไม่เหมือนกัน ซึ่งต้องใช้แม่พิมพ์คนละแผ่น
การพิมพ์แบบกลับในตัว คือการพิมพ์กระดาษทั้งสองด้านด้วยแม่พิมพ์เดียวกันเพียงแค่กลับหน้ากระดาษและพิมพ์ต่อด้วยแม่พิมพ์แผ่นเดิม โดยไม่ต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์จะได้ภาพหรือตัวหนังสือเหมือนกันทั้งสองด้านของกระดาษ
ความยากง่ายของการพิมพ์รวมถึงเวลาที่ใช้ในการพิมพ์งาน
ความเร็วของเครื่องพิมพ์โดยเฉลี่ยประมาณ 5,000 แผ่นต่อชั่วโมง บางเครื่องอาจเร็วหรือช้ากว่านี้แต่ปัจจัยหลักมักจะอยู่ที่คุณภาพของกระดาษที่ใช้ว่าบางหรือหนา บางเกินไป หรือหนาเกินไปก็พิมพ์ที่ความเร็วสูงไม่ได้พิมพ์พื้นสีมาก แห้งช้าก็พิมพ์เร็วไม่ได้ เวลาที่ใช้มีผลต่อการตีราคางานเป็นอย่างยิ่งบางงานพิมพ์จำนวนน้อยแต่ต้องใช้เวลารอ ในการพิมพ์แต่ละสีนาน ราคาอาจเท่ากับงานที่พิมพ์จำนวนมากบางงานได้
โรงพิมพ์ บีพีเค พริ้นติ้ง มุ่งมั่นพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางด้านงานพิมพ์อย่างครบวงจร

 @bpkprinting

ต้นทุนในการพิมพ์ระบบดิจิตอล

ต้นทุนการพิมพ์ในระบบ ดิจิตอลนั้นเป็นจะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่เป็น ต้นทุนแปรผัน สูงกว่าต้นทุนแบบ คงที่ โดยค่าใช้จ่ายหลักในการผลิต งานพิมพ์ แบบ ดิจิตอลนั้น จะต้นทุนแปรผัน (Variable Cost) ที่เรียกว่า Click Charge ในอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูง โดย ต้นทุน Click Charge นั้น จะเป็นต้นทุนที่ประกอบไปด้วย ค่าหมึก, ค่าวัสดุสิ้นเปลือง และค่าบำรุงรักษาเครื่อง ดังนั้น การพิมพ์ดิจิตอลจึงเหมาะสม กับการพิมพ์ที่มียอดพิมพ์ค่อนข้างสั้น หรือการพิมพ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงต้นฉบับบ่อย และไม่ต้องการคุณภาพงานพิมพ์ที่สูงนักโดยต้นทุนหลักที่เกิดขึ้น จากกระบวนการนี้จะเป็นค่ากระดาษ ,ค่าแรงของช่างพิมพ์, Click Charge, ค่าเสื่อมเครื่องพิมพ์ดิจิตอล และค่าเช่าพื้นที่ โดยเครื่องพิมพ์ ดิจิตอลไม่ต้องการเวลาที่ใช้ในการตั้งเครื่องพิมพ์ ดังนั้น เวลาและจำนวนแผ่นพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์จะเป็นแผ่นพิมพ์ที่สามารถขายได้อยู่แล้ว  

ที่มางานวิทยานิพนธ์ของ : ดร.ชิณญ์   ทรงอมรสิริ  . (2559). การหาจุดเปลี่ยนการผลิตในการผลิตสิ่งพิมพ์ระบบออฟเซตและดิจิตอล กรณีศึกษา บริษัท บีพีเค พริ้นติ้ง จำกัด (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี