เรื่องสีในงานพิมพ์: เข้าใจให้ชัดเจนก่อนเริ่มงาน
 
สีในงานพิมพ์ถือเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องอาศัยความเข้าใจเป็นอย่างมาก การพิมพ์ออฟเซ็ตไม่สามารถให้สีที่เหมือนกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ 100% เนื่องจากการทำงานของสีและแสงแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง สีจากจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากแสงที่ผสมกันในระบบ RGB (Red, Green, Blue) ซึ่งมีความสว่างและความเข้มของแสงเป็นตัวกำหนด ในขณะที่ สีจากงานพิมพ์ เกิดจากการสะท้อนแสงของสีหมึกที่พิมพ์ลงบนกระดาษเข้าสู่สายตาเรา ทำให้เกิดความแตกต่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

สำหรับการพิมพ์ออฟเซ็ต:

  • งานพิมพ์ยอดสั้น: ความใกล้เคียงของสีจากปรู๊ฟหรือค่าสีในคอมพิวเตอร์จะอยู่ที่ประมาณ 80-90% หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิต
 
  • งานพิมพ์ยอดยาว: ความใกล้เคียงของสีจากปรู๊ฟหรือค่าสีในคอมพิวเตอร์จะอยู่ที่ประมาณ 85-95% หรือมากกว่านั้น

ทำไมสีงานพิมพ์จึงไม่เหมือนหน้าจอ?

  1. หน้าจอแสดงผลด้วยแสง: สีบนหน้าจอเกิดจากแสงที่ปล่อยออกมาโดยตรง (RGB) ในขณะที่สีในงานพิมพ์ไม่มีแสงออกมา แต่ใช้แสงภายนอกที่ตกกระทบกระดาษแล้วสะท้อนกลับเข้าสู่สายตาเรา
  2. ระบบสีที่แตกต่างกัน: จอคอมพิวเตอร์ใช้ระบบ RGB ซึ่งมีขอบเขตของสี (Color Gamut) ที่กว้างกว่า ในขณะที่งานพิมพ์ใช้ระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, Black) ที่มีขอบเขตสีแคบกว่า RGB จึงไม่สามารถแสดงสีบางสีได้เหมือน RGB
  3. วัสดุและพื้นผิว: พื้นผิวกระดาษ วัสดุเคลือบ และแสงในสภาพแวดล้อม มีผลต่อการรับรู้สีที่เรามองเห็นจากงานพิมพ์

ข้อแนะนำสำหรับลูกค้า:

  • ทำความเข้าใจว่า "สีที่พิมพ์" จะใกล้เคียงมากที่สุดแต่ไม่สามารถเหมือนจอ 100%
  • การใช้ปรู๊ฟดิจิทัลหรือการปรู๊ฟสีจากแท่นพิมพ์สามารถช่วยให้เห็นภาพรวมสีที่ใกล้เคียงที่สุด
  • ปรึกษาโรงพิมพ์เพื่อเลือกกระบวนการและวัสดุที่เหมาะสมที่สุดสำหรับงานของคุณ

สรุป: การเข้าใจข้อจำกัดของระบบสีและกระบวนการพิมพ์ จะช่วยลดความผิดหวังและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับโรงพิมพ์ได้อย่างมาก เพราะเป้าหมายสำคัญคือการได้สีที่ใกล้เคียงที่สุด และตอบโจทย์ความต้องการในงานของคุณ!




รหัสสี(Color Code) เกิดจากการผสมกันของแม่สี  โดยปรกติรหัสสีที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะมีทั้งหมด 6 ตัวอักษรและต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย # เสมอ ยกตัวอย่างเช่น aabbcc โดยที่ aa แทนด้วยรหัสสีแดง bb แทนด้วยรหัสสีเขียว และสุดท้าย cc แทนด้วยรหัสสีน้ำเงิน บางครั้งอาจใช้แค่ 3 ตัวอักษร คือ abc ก็ได้ แต่ความละเอียดของการผสมสีจะมีน้อยกว่า ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัว แท้จริงแล้วก็คือค่าตัวเลขฐานสิบหก เริ่มต้นจาก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 a b c d e f เนื่องจากว่าเราไม่สามารถที่จะเขียนเป็น 10 11 12 13 14 15 ได้ก็เลยใช้เป็นอักษรภาษาอังกฤษแทน
การใช้ 3 ตัวอักษรดังตัวอย่าง abc แต่ละตัวจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 - 15 เพราะฉะนั้นจำนวนสีที่เราจะได้ก็คือ 16 x 16 x 16 = 4,096 สี ถ้าเป็น 6 ตัวอักษรก็จะได้เป็น 16 x 16 x 16 x 16 x 16 x 16 = 16,777,216 สี
การตั้งค่าแต่ละสีมีหลักการคือ ถ้าตัวเลขมากก็จะให้สีนั้นมาก เช่น ถ้าต้องการสีแดงเต็มกำลังก็ให้ใช้รหัส #ff0000 หรือจะใช้ 3 ตัวอักษร คือ #f00 ก็จะได้ผลที่ไม่แตกต่างกัน หรือถ้าต้องการสีเหลืองเต็มกำลัง ก็ให้ผสมระหว่างแม่สีแดงกับเขียน ก็จะได้รหัส #ffff00 หรือ #ff0



 

The Physcology of Color


ยิ่งรู้จักจิตวิทยาของสี ยิ่งมีประโยชน์ในการออกแบบ

การเลือกใช้สีก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นักออกแบบต้องให้ความสำคัญ เพราะในทางจิตวิทยาบอกว่าสีส่งผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้พบเห็นเสมอ ซึ่งปกติเราก็เอา จิตวิทยาเรื่องสีมาใช้กับงานของเราอยู่เสมอทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว แต่ก็คงเป็นโทนสีหลักๆ สีร้อนสีเย็นที่ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไร วันนี้ผมเลยขอนำเสนอข้อมูลของสีที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก The Physcology of Color เกือบ 50 สีฮิตๆ ที่มาพร้อมกับชื่อของที่เราเห็นกันอยู่บ่อยๆแต่เรียกไม่ถูก ทีนี้เวลาเราจะเลือกใช้สีใดก็จะได้มีแหล่งอ้างอิงให้มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าสีนั้นให้อารมณ์ความรู้สึกตามที่เราเจตนาให้เป็นหรือเปล่า


-----------------------------------------------
ที่มา website : idxw.net

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ทริคการจับคู่สีให้ลงตัว

 
Project Image
Project Image
Project Image
Project Image

ความรู้ทางงานพิมพ์